วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ตำนานเทศน์มหาชาติ ๑๓ กัณฑ์

ตำนานเทศน์มหาชาติ ๑๓ กัณฑ์
การเทศน์มหาชาติ คือการมหากุศลที่เตือนบุคคลให้น้อมรำลึกถึงการบำเพ็ญบุญ คือความดีที่ยิ่งยวด อันมีการสละความเห็นแก่ตัว เพื่อผลประโยชน์สูงอันไพศาลของมวลมนุษยชาติเป็นสำคัญเป็นเทศกาลที่คงความ หมายอย่างแท้จริง
การเทศน์ทุกกัณฑ์จะมีผู้เป็นเจ้าภาพจัดกัณฑ์เทศน์ถวาย เมื่อพระที่ตนรับกัณฑ์เทศน์ขึ้นเทศน์เจ้าภาพจะจุดเทียนบูชาคาถาหว่านข้าวตอก ข้าวสาร การเทศน์ในสมัยก่อนพระเจ้าของกัณฑ์จะอ่านจากอักษรธรรม(อักษรลาว) ซึ่งจารลงบนใบลานเป็นแผ่นยาว คำว่า "จาร" มาจากภาษาเขมรแปลว่า การเขียนด้วยเหล็กแหลมบนใบลาน แต่ปัจจุบันจะนิยมพิมพ์ลงบนใบลานเป็นตัวหนังสือไทยปัจจุบัน เป็นเรื่องราวในแต่ละกัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกสำหรับพระรุ่นใหม่ เมื่อจบกัณฑ์จะตีฆ้องเป็นสัญญาณ การเป็นเจ้าของกัณฑ์ในหมู่บ้านในชนบทอาจแบ่งเจ้าภาพเป็นคุ้ม เรื่องราวและประวัติความเป็นมาแต่ละกัณฑ์มีดังนี้
กัณฑ์ที่ ๑ ทศพร เป็นกัณฑ์ที่พระอินทร์ประสาทพรแก่พระนางผุสดี ก่อนที่จะจุติลงมาเป็นพระราชมารดาของพระเวสสันดร ภาคสวรรค์ พระนางผุสดีเทพอัปสรสิ้นบุญท้าวสักกะเทวราช สวามีทรงทราบจึงพาไปประทับยังสวนนันทวันในเทวโลก พร้อมให้พร ๑๐ ประการ คือให้ได้อยู่ในปราสาทของพระเจ้าสิริราชแห่งนครสีพี ขอให้มีจักษุดำดุจนัยน์ตาลูกเนื้อ ขอให้มีคิ้วดำสนิท ขอให้พระนามว่าผุสดี ขอให้มีโอรสที่ทรงเกียรติยศเหนือกษัตริย์ทังหลายและมีใจบุญ ขอให้มีครรภ์ที่ผิดไปจากสตรีสามัญคือแบนราบในเวลาทรงครรภ์ ขอให้มีถันงามอย่ารู้ดำและหย่อนยาน ขอให้มีเกศาดำสนิท ขอให้มีผิวงาม และข้อสุดท้ายขอให้มีอำนาจปลดปล่อยนักโทษได้
กัณฑ์ที่ ๒ หิมพานต์ เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรบริจาคทานช้างปัจจัยนาค ประชาชนสีพีโกรธแค้นจึงขับไล่ให้ไปอยู่เขาวงกต พระนางเทพผุสดีได้จุติลงมาเป็นราชธิดาของพระเจ้ามัททราช เมื่อเจริญชนม์ได้ ๑๖ ชันษา จึงได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้ากรุงสญชัยแห่งสีวิรัฐนคร ต่อมาได้ประสูติพระโอรสนามว่า "เวสสันดร" ในวันที่ประสูตินั้นได้มีนางช้างฉัททันต์ตกลูกเป็นช้างเผือกขาวบริสุทธิ์จึง นำมาไว้ในโรงช้างต้นคู่บารมี ให้นามว่า "ปัจจัยนาค" เมื่อพระเวสสันดรเจริญชนม์ ๑๖ พรรษา ราชบิดาก็ยกราชสมบัติให้ครอบครองและทรงอภิเษกกับนางมัทรีพระราชบิดาราชวงศ์ มัททราช มีพระโอรส ๑ องค์ชื่อ ชาลี ราชธิดาชื่อ กัณหา พระองค์ได้สร้างโรงทาน บริจาคทานแก่ผู้เข็ญใจ ต่อมาพระเจ้ากาลิงคะแห่งนครกาลิงครัฐได้ส่งพราหมณ์มาขอพระราชทานช้างปัจจัย นาค พระองค์จึงพระราชทานช้างปัจจัยนาคแก่พระเจ้ากาลิงคะ ชาวกรุงสัญชัย จึงเนรเทศพระเวสสันดรออกนอกพระนคร
กัณฑ์ที่ ๓ ทานกัณฑ์ เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงแจกมหาสัตสดกทาน คือ การแจกทานครั้งยิ่งใหญ่ ก่อนที่พระเวสสันดรพร้อมด้วยพระนางมัทรี ชาลีและกัณหาออกจากพระนคร จึงทูลขอพระราชทานโอกาสบำเพ็ญมหาสัตสดกทาน คือ การให้ทานครั้งยิ่งใหญ่ อันได้แก่ ช้าง มา โคนม นารี ทาสี ทาสา สรรพวัตถาภรณ์ต่างๆ รวมทั้งสุราบานอย่างละ ๗๐๐
กัณฑ์ที่ ๔ วนประเวศ เป็นกัณฑ์ที่สี่กษัตริย์เดินดงบ่ายพระพักตร์สู่เขาวงกต เมื่อเดินทางถึงนครเจตราชทั้งสี่กษัตริย์จึงแวะเข้าประทับพักหน้าศาลาพระนคร กษัตริย์ผู้ครองนครเจตราชจึงทูลเสด็จครองเมือง แต่พระเวสสันดรทรงปฎิเสธ และเมื่อเสด็จถึงเขาวงกตได้พบศาลาอาศรมซึ่งท้าววิษณุกรรมเนรมิตตามพระบัญชา ของท้าวสักกะเทวราช กษัตริย์ทั้งสี่จึงทรงผนวชเป็นฤๅษีพำนักในอาศรมสืบมา
กัณฑ์ที่ ๕ ชูชก เป็นกัณฑ์ที่ชูชกได้นางอมิตดามาเป็นภรรยา และหมายจะได้โอรสและธิดาพระเวสสันดรมาเป็นทาส ในแคว้นกาลิงคะมีพราหมณ์แก่ชื่อชูชก พำนักในบ้านทุนวิฐะ เที่ยวขอทานตามเมืองต่างๆ เมื่อได้เงินถึง ๑๐๐ กหาปณะ จึงนำไปฝากไว้กับพราหมณ์ผัวเมีย แต่ได้นำเงินไปใช้เป็นการส่วนตัว เมื่อชูชกมาทวงเงินคืนจึงยกนางอมิตดาลูกสาวให้แก่ชูชก นางอมิตดาเมื่อมาอยู่ร่วมกับชูชก ได้ทำหน้าที่ของภรรยาที่ดี ทำให้ชายในหมู่บ้านเปรียบเทียบกับภรรยาตน หญิงในหมู่บ้านจึงเกลียดชังและรุมทำร้ายทุบตี นางอมิตดา ชูชกจึงเดินทางไปทูลขอกัณหาชาลีเพื่อเป็นทาสรับใช้ เมื่อเดินทางมาถึงเขาวงกตก็ถูกขัดขวางจากพรามเจตบุตรผู้รักษาประตูป่า
กัณฑ์ที่ ๖ จุลพน เป็นกัณฑ์ที่พรานเจตบุตรหลงกลชูชก และชี้ทางสู่อาศรมจุตดาบส ชูชกได้ชูกลักพริกขิงแก่พรานเจตบุตรอ้างว่าเป็นพระราชสาสน์ของพระเจ้ากรุง สญชัย จึงได้พาไปยังต้นทางที่จะไปอาศรมฤๅษี
กัณฑ์ที่ ๗ มหาพน เป็นกัณฑ์ป่าใหญ่ ชูชกหลอกล่ออจุตฤๅษีให้บอกทางสู่อาศรมพระเวสสันดรแล้วก็รอนแรมเดินไพรไปหา เมื่อถึงอาศรมฤๅษี ชูชกได้พบกับอจุตฤๅษี ชชกใช้คารมหลอกล่อจนอจุตฤๅษีจึงให้ที่พักหนึ่งคืนและบอกเส้นทางไปยังอาศรม พระเวสสันดร
กัณฑ์ที่ ๘ กัณฑ์กุมาร เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงให้ทางสองโอรสแก่เฒ่าชูชก พระนางมัทรีฝันร้ายเหมือนบอกเหตุแห่งการพลัดพราก รุ่งเช้าเมื่อนางมัทรีเข้าป่าหาอาหารแล้ว ชูชกจึงเข้าเฝ้าทูลขอสองกุมาร สองกุมารจึงพากันลงไปซ่อนตัวอยู่ที่สระ พระเวสสันดรจึงลงเสด็จติดตามสองกุมาร แล้วจึงมอบให้แก่ชูชก
กัณฑ์ ที่ ๙ กัณฑ์มัทรี เป็นกัณฑ์ที่พระนางมัทรีทรงได้ตัดความห่วงหาอาลัยในสายเลือด อนุโมทนาทานโอรสทั้งสองแก่ชูชก พระนางมัทรีเดินเข้าไปหาผลไม้ในป่าลึก จนคล้อยเย็นจึงเดินทางกลับอาศรม แต่มีเทวดาแปลงกายเป็นเสือนอนขวางทาง จนค่ำเมื่อกลับถึงอาศรมไม่พบโอรส พระเวสสันดรได้กล่าวว่านางนอกใจ จึงออกเที่ยวหาโอรสและกลับมาสิ้นสติต่อเบื้องพระพักตร์ พระองค์ทรงตกพระทัยลืมตนว่าเป็นดาบสจึงทรงเข้าอุ้มพระนางมัทรีและทรงกันแสง เมื่อพระนางมัทรีฟื้นจึงถวายบังคมประทานโทษ พระเวสสันดรจึงบอกความจริงว่าได้ประทานโอรสแก่ชูชกแล้ว หากชีวิตไม่สิ้นคงจะได้พบ นางจึงได้ทรงอนุโมทนา
กัณฑ์ที่ ๑๐ สักกบรรพ เป็นกัณฑ์ที่พระอินทร์จำแลงกายเป็นพราหมณ์มาขอพระนางมัทรี แล้วถวายคืนพร้อมถวายพระพร ๘ ประการ ท้าวสักกะเทวราชเสด็จแปลงเป็นพราหมณ์เพื่อทูลขอนางมัทรี พระเวสสันดรจึงพระราชทานให้ พระนางมัทรีก็ยินดีอนุโมทนาเพื่อร่วมทานบารมีให้สำเร็จพระสัมโพธิญาณ เป็นเหตุให้เกิดแผ่นดินไหวสะท้าน ท้าวสักกะเทวราชในร่างพราหมณ์จึงฝากนางมัทรีไว้ยังไม่รับไป ตรัสบอกความจริงและถวายคืนพร้อมถวายพระพร ๘ ประการ
กัณฑ์ที่ ๑๑ มหาราช เป็นกัณฑ์ที่เทพเจ้าจำแลงองค์ทำนุบำรุงขวัญสองกุมารก่อนเสด็จนิวัติถึงมหานครสีพี เมื่อเดินทางผ่านป่าใหญ่ชูชกจะผูกสองกุมารไว้ที่โคนต้นไม้ ส่วนตนเองปีนขึ้นไปนอนต้นไม้ เหล่าเทพเทวดาจึงแปลงร่างลงมาปกป้องสองกุมาร จนเดินทางถึงกรุงสีพี พระเจ้ากรุงสีพีเกิดนิมิตฝันตามคำทำนายยังความปีติปราโมทย์ เมื่อเสด็จลงหน้าลานหลวงตอนรุ่งเช้าทอดพระเนตรเห็นชูชกพากุมารน้อยสององค์ ทรงทราบความจริงจึงพระราชทานค่าไถ่คืน ต่อมาชูชกก็ดับชีพตักษัยด้วยเพราะเดโชธาตุไม่ย่อย ชาลีจึงได้ทูลขอให้ไปรับพระบิดาพระมารดานิวัติพระนคร ในขณะเดียวกันเจ้านครลิงคะได้โปรดคืนช้างปัจจัยนาคแก่นครสีพี
กัณฑ์ที่ ๑๒ ฉกษัตริย์ เป็นกัณฑ์ที่ทั้งหกกษัตริย์ถึงวิสัญญีภาพสลบลงเมื่อได้พบหน้า ณ อาศรมดาบสที่เขาวงกต พระเจ้ากรุงสญชัยใช้เวลา ๑ เดือน กับ ๒๓ วันจึงเดินทางถึงเขาวงกต เสียงโห่ร้องของทหารทั้ง ๔ เหล่า พระเวสสันดรทรงคิดว่าเป็นข้าศึกมารบนครสีพี จึงชวนพระนางมัทรีขึ้นไปแอบดูที่ยอดเขา พระนางมัทรีทรงมองเห็นกองทัพพระราชบิดาจึงได้ตรัสทูลพระเวสสันดรและเมื่อหก กษัตริย์ได้พบหน้ากันทรงกันแสงสุดประมาณ รวมทั้งทหารเหล่าทัพ ทำให้ป่าใหญ่สนั่นครั่นครืนท้าวสักกะเทวราชจึงได้ทรงบันดาลให้ฝนตกประพรมหก กษัตริย์และทวยหาญได้หายเศร้าโศก
กัณฑ์ที่ ๑๓ นครกัณฑ์ เป็นกัณฑ์ที่หกกษัตริย์นำพยุหโยธาเสด็จนิวัติพระนคร พระเวสสันดรขึ้นครองราชย์แทนพระราชบิดา พระเจ้ากรุงสญชัยตรัสสารภาพผิด พระเวสสันดรจึงทรงลาผนวชพร้อมทั้งพระนางมัทรี และเสด็จกลับสู่สีพีนคร เมื่อเสด็จถึงจึงรับสั่งให้ชาวเมืองปล่อยสัตว์ที่กักขัง ครั้นยามราตรีพระเวสสันดรทรงปริวิตกว่า รุ่งเช้าประชาชนจะแตกตื่นมารับบริจาคทาน พระองค์จะประทานสิ่งใดแก่ประชาชน ท้าวโกสีห์ได้ทราบจึงบันดาลให้มีฝนแก้ว ๗ ประการ ตกลงมาในนครสีพีสูงถึงหน้าแข้ง พระเวสสันดรจึงทรงประกาศให้ประชาชนขนเอาไปตามปรารถนา ที่เหลือให้ขนเข้าพระคลังหลวง ในกาลต่อมาพระเวสสันดรเถลิงราชสมบัติปกครองนครสีพีโดยทศพิธราชธรรมบ้านเมือง ร่มเย็นเป็นสุขตลอดพระชนมายุ
ประเพณีงานบุญผะเหวด ฟังเทศน์มหาชาติ อันเป็นประเพณีอันเก่าแก่ที่มีเรื่องราวเล่าขาน และปฏิบัติสืบทอดมาแต่โบราณ ยังธำรงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมและประเพณีอันดีงามของชาวอีสาน อย่างเช่น จังหวัดร้อยเอ็ดหรือสาเกตนครอันยิ่งใหญ่ในอดีต ได้จัดงานบุญผะเหวดให้เป็นงานกินข้าวปุ้น บุญผะเหวด ที่สาเกตนคร
งานบุญผะเหวดของจังหวัดร้อยเอ็ด ปัจจุบัน มักจัดขึ้นบริเวณบึงผลาญชัย อันเป็นสวนสาธารณะ พักผ่อนย่อยใจกลางตัวเมือง รอบบึงผลาญชัยจะมีผ้าผะเหวดที่ยาวที่สุดในโลก มีภาพเรื่องราวในเวสสันดรชาดกตั้งแต่กัณฑ์แรกจนถึงกัณฑ์สุดท้ายกางรอบบริเวณ พร้อมทั้งประดับธงทิวทั่วบริเวณงานในวันแรกของงานมีพิธีเชิญพระอุปคุตรรอบ เมือง เพื่อให้ชาวบ้านร้อยเอ็ดได้สักการบูชาอย่างทั่วถึง ในวันที่สองตอนเช้ามีพิธีทักษิณานุปทาน และเทศน์มาลัยหมื่นมาลัยแสน จากนั้นเป็นพิธีเปิดงาน ตามขบวนแห่คำขวัญประจำจังหวัด ขบวนแห่ ๑๓ กัณฑ์แต่ละขบวนจะมีการแสดงตามลักษณะเรื่องราวแต่ละกัณฑ์ การตกแต่งรถขบวนเป็นที่น่าสนใจและสวยงาม จนได้รับเสียงปรบมือจากผู้ชมสองข้างทาง อยู่มิขาดระยะจากนั้นได้มีการบริการข้างปุ้น ข้าวต้มมัด ข้าวโป่ง ให้แก่นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวงาน ทุกคนได้รับการแจกฟรีและกินฟรีเหมือนหนึ่งพระเวสสันดรที่ทรงให้ทานแก่ทวย ราษฎร์ ในงานบุญเทศกาลต่างๆ ชาวอีสานจัดเตรียมข้าวปลาอาหารไว้สำหรับเลี้ยงแขกที่มาจากต่างถิ่น โดยเฉพาะข้าวปุ้นหรืนขนมจีนนับเป็นอาหารยอดนิยมของชาวอีสาน การกินข้าวปุ้นอร่อย น้ำยาข้าวปุ้นที่นิยมกัน ๒ ชนิด คือ น้ำยาลาวหรือน้ำยาปลาต้มใช้ปลาดุกหรือปลาช่อนเป็นส่วนผสม และน้ำยาไทย ใช้ปลาทูหรือแกงไก่ใส่กะทิ หรืออาจทำแกงเขียวหวานแทน
วันสุดท้ายของงานในตอนเช้าเวลาตีห้าจะมีพิธีแห่ข้าวพันก้อน การตักบาตรพระสงฆ์ ๑๐๑ รูป การเทศน์มหาชาติ ๑๓ กัณฑ์ การแห่กัณฑ์หลอน กัณฑ์จอบและแถมสมภาร เป็นอันเสร็จสิ้นพิธีส่วนหมู่บ้านในชนบทเมื่องาน สิ้นสุด ลูกหลานที่มาเยี่ยมบ้านเกิดก็กลับคืนสู่เมืองหลวงอีกครั้งเพื่อมุ่งหน้าทำ งาน ทิ้งให้พ่อแม่ คนแก่ และเด็กเฝ้าหมู่บ้านต่อไป สิ้นเดือนสี่ มาถึงเดือนห้า ต่อถึงเดือนหกฝนเริ่มตก ก็คงเป็นฤดูกาลแห่งการทำนาอีกวาระหนึ่ง ชาวอีสานต้องตรากตรำทำงานในท้องทุ่ง เริ่มจากหว่าน กล้า ปักดำ จนข้าวตั้งท้องผ่านการเก็บเกี่ยว นวดข้าว และขนขึ้นสู่ยุ้งฉาง วัฎจักรแห่งการดำเนินชีวิตแต่ละช่วงจึงมักจะเกี่ยวโยงกับคติความเชื่อ วัฒนธรรมและประเพณีที่สืบทอดต่อกันมา แม้วันนี้ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้ครอบคลุมไปทั่วทุกหมู่บ้านในชนบท อีสาน แต่ในด้านความเชื่อความศรัทธาที่มีต่อพุทธศาสนาประเพณีและวัฒนธรรมมิเคย เปลี่ยแปลง
งานบุญผะเหวดจึงเป็นงานประเพณีที่ปฎิบัติสืบต่อกันมา หลายท้องถิ่นได้มีการปรับเปลี่ยนพิธการตามวิถีแห่งยุคสมัย แต่ยังคงยึดหลักและแนวทางการปฏิบัติตามประเพณีดั้งเดิม การทำบุญของชาวอีสานจึงเปรียบเสมือนการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน และมีชีวิตอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข นั้นคือปรัชญาแห่งการดำรงชีวิตที่แท้จริงของชาวอีสาน

ที่มา:ตำนานเทศน์มหาชาติ ๑๓ กัณฑ์ - สุทัศน์ วัฒนากุล.
http://laochencchai.blogbkk.com/main.php?pack=blog_view&t=1&t2=&t3=&id=258, 5 ส.ค. 53,08.11 น.
<ผุสสดี>

การเทศน์มหาชาติ

การเทศน์มหาชาติ
เทศน์มหาชาติ คือ เทศนาเวสสันดรชาดกเป็นบุญพิธีที่นิยมจัดให้มีกันมาแต่โบราณ ส่วนมากจัดให้มีในวัดเป็นหน้าที่ของชาวบ้านและวัดนั้น ๆ จะตกลงร่วมกันจัด ปกตินิยมให้มีหลังฤดูทอดกฐินผ่านไปแล้วจนตลอดฤดูเหมันต์ นิยมจัดเป็นงานสองวัน คือ วันเทศน์เวสสันดรชาดกทั้ง ๑๓ กัณฑ์ วันหนึ่ง และวันเทศน์จตุราริยสัจจกถา ท้ายเวสสันดรชาดก อีกวันหนึ่งวันแรกเริ่มงานด้วยพิธีทำบุญตักบาตรพระทั้งวัด หรือเลี้ยงพระตามจำนวนที่เห็นสมควร แล้วเริ่มเทศน์เวสสันดรชาดกตามแบบเทศน์ต่อกันไปจนสุด๑๓ กัณฑ์ ถึงเวลากลางคืนบางแห่งจัดปี่พาทย์ประโคมระหว่างกัณฑ์หนึ่ง ๆ ตลอดทั้ง ๑๓ กัณฑ์ ด้วย
วันรุ่งขึ้น ทำบุญเลี้ยงพระอีก แล้วมีเทศน์จตุราริยสัจจกถาในระหว่างเพลจบแล้วเลี้ยงพระเพล
เป็นอันเสร็จพิธีระเบียบพิธีในการเทศน์มหาชาติ ที่นิยมกันเป็นหลักใหญ่ ๆ ดังนี้
ตกแต่งบริเวณพิธีให้มีบรรยากาศคล้ายอยู่ในบริเวณป่า ตามท้องเรื่องเวสสันดรชาดก โดยนำเอาต้นกล้วย ต้นอ้อย และกิ่งไม้มาผูกตามเสาและบริเวณรอบ ๆ ธรรมาสน์ ประดับธงทิว และราชวัติ ฉัตร ตามสมควร
๒) ตั้งขันสาครใหญ่ หรือจะใช้อ่างใหญ่ที่สมควรก็ได้ใส่น้ำสะอาดเต็ม สำหรับปักเทียนบูชาประจำกัณฑ์ ในระหว่างที่พระเทศน์ น้ำในภาชนะที่ตั้งนี้เมื่อเสร็จพิธีแล้ว ถือว่าเป็นน้ำพระพุทธมนต์ที่สำคัญ ภาชนะใส่น้ำนี้ตั้งหน้าธรรมาสน์ กลางบริเวณพิธี
๓) เตรียมเทียนเล็ก ๆ จำนวน ๑,๐๐๐ เล่มแล้วนับแยกจำนวนเป็นมัด มัดหนึ่งมีจำนวนเท่าคาถาของกัณฑ์หนึ่ง แล้วทำเครื่องหมายไว้ให้ทราบว่ามัดไหนสำหรับบูชาคาถากัณฑ์ใด เมื่อถึงคราวเทศน์กัณฑ์นั้นก็จะเอาเทียนมัดนั้นออกจุดบูชาติดรอบ ๆ ภาชนะน้ำต่อกันไปจนจบกัณฑ์ให้หมดมัดพอดี ครบ ๑๓ กัณฑ์ถ้วนจำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม เท่าจำนวนคาถา บางแห่งนิยมทำธงเล็ก ๆ ๑,๐๐๐ คัน แบ่งจำนวนเท่าคาถาประจำกัณฑ์เช่นอย่างเทียน แล้วปักธงบูชาระหว่างกัณฑ์บนหยวกกล้วย แต่การใช้ธงไม่เป็นที่นิยม เช่นเทียน การจุดเทียนหรือปักธงบูชากัณฑ์ดังกล่าวเป็นหน้าที่ของเจ้าภาพผู้รับกัณฑ์นั้น ๆการเทศน์เวสสันดร มีวิธีเทศน์เป็นทำนองโดยเฉพาะ จะต้องได้รับการฝึกอบรมศึกษาจากท่านผู้ทรงคุณวุฒิทางนี้เป็นพิเศษ ส่วนการเทศน์จตุราริยสัจจกถา มีระเบียบพิธีอย่างเทศน์ในงานดังกล่าวแล้วข้างต้น
ประเพณีงานเทศน์มหาชาติ
งานเทศน์มหาชาตินี้ นิยมทำกันหลังออกพรรษาพ้นหน้ากฐินไปแล้ว อาจทำในวันขึ้น ๘ ค่ำกลางเดือน ๑๒ หรือในวันแรม ๘ ค่ำก็ได้ ซึ่งในช่วงนี้น้ำเริ่มลดและข้าวปลาอาหารกำลังอุดมสมบูรณ์จึงพร้อมใจกันทำบุญทำทานและเล่นสนุกสนานรื่นเริงแต่ในภาคอีสานนั้นนิยมทำกันในเดือน ๔ เรียกว่า“งานบุญผะเหวด” ซึ่งเป็นช่วงที่เสร็จจากการทำบุญลานเอาข้าวเข้ายุ้ง ในภาคกลาง บางท้องถิ่นทำกันในเดือน ๕ ต่อเดือน ๖ ก็มี งานเทศน์มหาชาตินั้นจะทำในกาลพิเศษจะทำในเดือนไหนก็ได้ไม่จำกัดฤดูกาล โดยมากเพื่อเป็นการหาเงินเข้าวัด บางแห่งนิยมทำในเดือน ๑๐ การเทศน์มหาชาตินั้น มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด๑๓ กัณฑ์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระเวสสันดรอันเป็นพระชาติสุดท้ายของพระบรมโพธิสัตว์ ก่อนที่จะมาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะและออกบวชจนตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังตำนานต่อไปนี้ตำนานเทศน์มหาชาติ ๑๓ กัณฑ์
การเทศน์มหาชาติ คือ การมหากุศลที่เตือนบุคคลให้น้อมรำลึกถึงการบำเพ็ญบุญ คือความดีที่ยิ่งยวด อันมีการสละความเห็นแก่ตัว เพื่อผลประโยชน์สูงอันไพศาลของมวลมนุษยชาติเป็นสำคัญ
เป็นเทศกาลที่คงความหมายอย่างแท้จริงการเทศน์ทุกกัณฑ์จะมีผู้เป็นเจ้าภาพจัดกัณฑ์เทศน์ถวาย เมื่อพระที่รับกัณฑ์เทศน์ขึ้นเทศน์เจ้าภาพจะจุดเทียนบูชาคาถาหว่านข้าวตอกข้าวสารการเทศน์ในสมัยก่อนพระเจ้าของกัณฑ์จะอ่านจากอักษรธรรม (อักษรลาว) ซึ่งจารลงบนใบลานเป็นแผ่นยาว คำว่า “จาร” มาจากภาษาเขมร แปลว่า การเขียนด้วยเหล็กแหลมบนใบลาน แต่ปัจจุบันจะนิยมพิมพ์ลงบนใบลานเป็นตัวหนังสือไทยปัจจุบันเป็นเรื่องราวในแต่ละกัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกสำหรับพระรุ่นใหม่ เมื่อจบกัณฑ์จะตีฆ้องเป็นสัญญาณ การเป็นเจ้าของกัณฑ์ในหมู่บ้านในชนบทอาจแบ่งเจ้าภาพเป็นคุ้ม เทศน์มหาชาติมี ๑๓ กัณฑ์ดังนี้ คือ
กัณฑ์ที่ ๑ ทศพร
กัณฑ์ที่ ๒ หิมพานต์
กัณฑ์ที่ ๓ ทานกัณฑ์
กัณฑ์ที่ ๔ วนประเวศ
กัณฑ์ที่ ๕ ชูชก
กัณฑ์ที่ ๖ จุลพน
กัณฑ์ที่ ๗ มหาพน
กัณฑ์ที่ ๘ กัณฑ์กุมาร
กัณฑ์ที่ ๙ กัณฑ์มัทรี
กัณฑ์ที่ ๑๐ สักกบรรพ
กัณฑ์ที่ ๑๑ มหาราช
กัณฑ์ที่ ๑๒ ฉกษัตริย์
กัณฑ์ที่ ๑๓ นครกัณฑ์

ที่มา:จากฟ้าสู่ดิน. การเทศน์มหาชาติ
,http://www.dra.go.th/module/attach_media/sheet7820090306113309.pdf 5 ส.ค.53,08.12น.

<ผุสสดี>